วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561

บุพเพสันนิวาส in Russia

ออเจ้ากันทั้งเมือง
นาทีนี้ไม่รู้จักคงจะไม่ได้การ
กับละครที่ดังสนั่นหวั่นไหวสะเทือนทั้งวงการ
กับบุพเพสันนิวาส ย้อนเวลาจากยุคปัจจุบัน
สู่สมัยพระนารายณ์มหาราช
กลายเป็นกระแสอินประวัติศาสตร์กันสุดๆ
อูดาชีขอกระโดดเกาะกระแส 
พาออเจ้าย้อนเวลาไปยุคนั้น
แต่ไม่ใช่อโยธยา ขอแวะไปราชธานีอื่น
นั่นคือ ซางค์ปีแตร์บูร์ก
หรือเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กแห่งจักรวรรดิรัสเซีย
ในช่วงระยะเวลาไล่เลี่ยกันนี่เอง
ตามไปดูกันว่า
ออเจ้าจะอยากย้อนไปเจอพี่หมื่น
หรือจะย้อนไปเจอยูริ อีวาน บลาๆ
กันดีกว่ากันน๊าาาาา

...................................
เที่ยวรัสเซียแบบรู้จริง รู้ลึก อิงประวัติศาสตร์
กับทีมงานที่เชี่ยวชาญที่สุดอย่าง Udachi
สอบถามเพิ่มเติมได้ทุกช่องทาง 
Line: @udachi
Tel: 0852452458, 0888870245



อูดาชีชวนออเจ้ามาย้อนรอยประวัติศาสตร์
ข้ามภาพ ข้ามประเทศ
กับการออกตามหาบุพเพของออเจ้า
ที่อาจจะกำลังอาละวาดอยู่ในรัสเซียก็เป็นได้



เกศสุรางค์ ย้อนเวลาสู่อดีต
ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช 
หรือช่วงปีค.ศ. 1656-1688
ซึ่งถือเป็นยุครุ่งเรืองมากที่สุดอีกยุคหนึ่ง
ด้วยพระปรีชาสามารถ
ทรงสร้างความรุ่งเรืองและความยิ่งใหญ่
ให้แก่กรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างมาก

ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันเป็นรัชสมัยของ
ซาร์ปีเตอร์มหาราชที่ครองราชย์
ระหว่างปีค.ศ. 1682-1725 
(พระองค์ได้สถาปนาตนให้เป็น 
Emperor and Autocrat of All the Russias
ในปีค.ศ. 1721 เป็นต้นมา)
และด้วยพระอัจริยภาพก็ทำให้
จักรวรรดิรัสเซียรุ่งเรืองและแผ่ขยายอำนาจไปทั่ว


ในเรื่องการต่างประเทศก็ไม่ยิ่งหย่อน
เพราะคุณพี่หมื่นหรือหมื่นสุนทรเทวา
ก็ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญทางการทูต
ได้ร่วมอยู่ในคณะทูตที่ไปเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ. 1686 โดยเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ณ พระราชวังแวร์ซายส์

ฟากซาร์ปีเตอร์มหาราชเอง
ก็ปลอมตัวไปแอบศึกษาวิทยาการจากยุโรป
ศึกษาวิทยาการต่อเรือ การแพทย์ ศิลปะ
รวมไปถึงศาสตร์ความรู้แขนงต่างๆ
นำมาพัฒนาประเทศให้รุ่งเรือ
ดังที่จะเห็นผังเมืองของเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
ซาร์ปีเตอร์เองก็ได้รับแรงบันดาลใจ
มาจากแผนผังของกรุงอัมสเตอร์ดัมนั่นเอง


พระโหราธิบดีหรือพระมหาราชครู
เป็นผู้ประพันธ์หนังสือจินดามณี
ซึ่งถือเป็นตำราเรียนภาษาไทยเล่มแรก

คล้ายกันกับในยุคนั้น 
วิทยาการของจักรวรรดิรัสเซียรุ่งเรืองมาก
จึงมีการจัดตั้งโรงเรียนสอนเดินเรือ
โรงเรียนคณิตศาสตร์ โรงเรียนสอนภาษา
รวมถึงมีการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ Vedomosti
เพื่อเผยแพร่และบันทึกความรู้จากรัฐบาลอีกด้วย


ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์รุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่ง กรุงศรีอยุธยามีการติดต่อทั้งด้านการค้า
และการทูตกับประเทศต่างๆ 
ทำให้มีชาวต่างชาติเข้ามาอาศัยในอาณาจักร 
เป็นจำนวนมาก 
รวมถึงเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) 
นับได้ว่ากรุงศรีในยุคนั้น มีความอินเตอร์สุดๆ

ฝั่งพระเจ้าซาร์ปีเตอร์ก็ไม่แพ้กัน
ในยุคนั้นมีการศึกษาวิทยาการของต่างประเทศ
และมีชาวต่างชาติ อาทิ อังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลันดา
ที่เริ่มมีการติดต่าค้าขายระหว่างกัน
ตลอดจนมีการตั้งกงสุลและหมู่บ้านชาวต่างชาติ
ในรัชสมัยของซาร์ปีเตอร์อีกด้วย


ในยุคของพระนารายณ์มหาราช
ทรงยกทัพไปตีหัวเมืองพม่าหลายเมือง
ทั้งจิตตะกอง สิเรียม ย่างกุ้ง แปร ตองอู
และแม้แต่หงสาวดีเอง 
ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์
และนักรบคู่ใจ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก)
ทำให้อำนาจของกรุงศรีอยุธยายิ่งใหญ่
เกรียงไกรเป็นอย่างยิ่ง

ในยุคของซาร์ปีเตอร์มหาราช
กองทัพรัสเซียก็ทรงพลังไม่แพ้กัน
เพราะได้มีการทำสงครามกับสวีเดน
เพื่อแย่งชิงดินแดนเหนือทะเลบอลติก
รวมถึงสงครามกับตุรกีเพื่อครอบครอง
ดินแดนฝั่งทะเลดำ 
ถือได้ว่ากองเรือของรัสเซียยุคนั้น
ยิ่งใหญ่จนใครๆก็ต้องเกรงขา


ระบอบทาสไม่ได้มีแค่พี่ผิน พี่แย้ม
เพราะฝั่งจักรวรรดิรัสเซียเองก็มีทาส
ที่ขึ้นตรงต่อเจ้าขุนมูลนายในอดีต
ต้องรับใช้และถือเป็นสมบัติของตระกูล
และจะได้รับการดูแลจากเจ้านายนะเจ้าคะ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ทะเลสาบไบคาล: ตำนาน ชนเผ่า และความงดงามแห่งธรรมชาติ

ทะเลสาบไบคาล: ตำนาน ชนเผ่า และความงดงามแห่งธรรมชาติ ทะเลสาบไบคาล: มหัศจรร...